Awesome Image

สารสกัดจากกระท่อม7-Hydroxymitragynine มีฤทธิ์ในการระงับปวดดีกว่ามอร์ฟีนถึง 17 เท่า (Horie S; Koyama F; Takayama H; et al., 2005) งานวิจัยซึ่งเป็นผลมาจากการต่อยอดภูมิปัญญาและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในประเทศไทยถูกจดสิทธิบัตรแล้วโดยบริษัทมหาวิทยาลัยชิบะ และกำลังถูกพัฒนาเป็นยาที่ทดแทนมอร์ฟีนซึ่งมีมูลค่าตลาดมากถึง 400,000 ล้านบาท/ปี ประเทศไทยกำหนดให้กระท่อมเป็นพืชเสพติดภายใต้พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากกระท่อมเป็นยาและผลิตภัณฑ์ ในขณะที่กลับเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาวิจัยเพื่อจดสิทธิบัตรกระท่อมและสารสกัดจากระท่อมมิได้อยู่ในบัญชีสารเสพติดของสหประชาชาติ (Schedules of the United Nations Drug Conventions) จากการประมวลโดยศูนย์ติดตามยาและสารเสพติดของสหภาพยุโรป (The European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction -EMCDDA) เมื่อเร็วๆนี้ (2015) พบว่า นอกเหนือจากประเทศไทยแล้วมี มาเลเซีย พม่า ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ 6 ประเทศในอียูคือ เดนมาร์ก ลัตเวีย ลิธัวเนีย ลัตเวีย โปแลนด์ โรมาเนีย และสวีเดน เท่านั้น ที่ควบคุมกระท่อมเป็นสารเสพติด อย่างไรก็ตามด้วยเหตุผล "เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่กำลังใกล้มาถึงและเพื่อความปลอดภัยของประชาชน" สำนักงานควบคุมสารเสพติด (Drug Enforcement Administration -DEA)ของสหรัฐเพิ่งประกาศให้กระท่อมเป็นพืชควบคุมชั่วคราวโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2559 นี้เป็นต้นไป โดยกำหนดระยะเวลาควบคุม 2 ปีก่อนที่จะประกาศดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการถาวรต่อไป ท่ามกลางความไม่พอใจของชุมชนอเมริกันที่ใช้พืชกระท่อมสำหรับใช้เป็นยาและเพื่อสุขภาพ ประชาชนหลายร้อยคนรวมตัวกันไปชุมนุมหน้าทำเนียบขาวเพื่อต่อต้านคำประกาศดังกล่าว พวกเขาระบุว่าคำประกาศดังกล่าวของ DEA ไม่มีเหตุผลรองรับที่ชัดเจนเกี่ยวกับโทษของกระท่อมเลยเมื่อเปรียบเทียบกับสารประเภทอื่นๆที่ใช้ในทางการแพทย์ ล่าสุด DEA ประกาศว่ากำลังหาแนวทางดำเนินการเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มดังกล่าวแล้ว สำหรับประเทศไทย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดให้มีการเสวนาเพื่อทบทวนกฎหมายควบคุมกระท่อมและกัญชาในประเทศไทย เรื่อง "การจัดการพืชกระท่อมและกัญชา เพื่อความมั่นคงด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย" ในวันที่ 27 กันยายน 2559 ที่ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. ไบโอไทยจะเข้าร่วมนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับสิทธิบัตรและความมั่นคงด้านยาในงานนี้ด้วย โดยมีวิทยากรจากผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในกระทรวงยุติธรรม ปปส. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และนักวิทยาศาสตร์/เภสัชศาสตร์ชั้นแนวหน้าจำนวนมากเข้าร่วมประชุมในงานดังกล่าว หมายเหตุ : คำชี้แจงจากกพย.
กพย. - ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่ซึ่งมีที่นั่งจำกัด (ซึ่งเต็มแล้ว) ตลอดจนข้อจำกัดเรื่องเนื้อหาในการประชุมซึ่งอาจมีประเด็นซับซ้อน การประชุมในครั้งนี้ขออนุญาตให้เฉพาะนักวิชาการเข้าร่วมประชุมเพื่่อตกผลึกแนวความคิด แต่เราสัญญาว่าจะมีการเปิดประชุมสำหรับสื่อมวลชนและผู้สนใจในครั้งต่อไป ซึ่งจะฝากประชาสัมพันธ์มายังเพจ BIOTHAI ด้วยอีกครั้ง---------
มูลค่าตลาดของยากลุ่ม Opioids และ มอร์ฟีน
http://www.persistencemarketresearch.com/.../opioids...อ่าน ประมวลสถานะของการใช้กระท่อม โดย The European Monitoring Centre for Drugs and Drug Addiction (EMCDDA) ได้ที่ http://www.emcdda.europa.eu/publicat.../drug-profiles/kratomงานวิจัยประสิทธิภาพของกระท่อม Horie S; Koyama F; Takayama H; et al. (March 2005). "Indole alkaloids of a Thai medicinal herb, Mitragyna speciosa, that has opioid agonistic effect in guinea-pig ileum". Planta Med. 71 (3): 231–6. doi:10.1055/s-2005-837822. PMID 15770543.ความไม่พอใจของประชาชนอเมริกันต่อคำประกาศของ DEA
http://www.forbes.com/.../what-the-deas-plan-to.../...http://www.forbes.com/.../the-deas-crazy-kratom-ban.../...http://www.huffingtonpost.com/.../kratom-users_us...http://www.usnews.com/.../kratom-advocates-sip-tea-and...After Banning Kratom, DEA Says It Might Be a Useful Medicine
http://reason.com/.../after-banning-kratom-dea-says-it...

อ้างอิง:

Facebook BIOTHAI